เช็กคำสั่งล่าสุด เดินทางข้ามจังหวัด จะไปจังหวัดไหนไปได้ไหม

ในรอบสถานการร์ที่ 4 นี้นนั้น ต้องบอกว่า มาแบบรวดเร็และไม่มีใครตั้งตัวทันเลยทีเดียว ทั้งนี้ หลายคนได้รับผลกระทยกันหมดทั้งสิน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน พ่อค้าแม่ค้า และเกษตรกร

แต่ทะว่า ถ้าเราร่วมมือกัน ในส่วนของตรงนี้ฟ้าหลังฝนย้อมสดใสเสมอ ทั้งนี้เพื่อป้องกัน และพาประเทสไทยกลับมาอีกครั้ง รัฐบาลจึงได้จำใจออกมาตรการเคอร์ฟิวอีกรอบนึ่ง

ล่าสุด หลังคำสั่งนายกรัฐมนตรี ประกาศ ล็อกดาวน์ 14 วัน รวมถึงประกาศ เคอร์ฟิว ในพื้นที่ 10 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม)

ซึ่งได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้วในวันที่ 10 ก.ค.64 นั้น เนื่องจาก คำสั่งที่เกิดขึ้น บางคำสั่งให้มีผลเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล บางคำสั่งให้มีผลทั้ง 10 จังหวัด และบางคำสั่งก็ให้มีผลทั้งประเทศ หลายคนจึงน่าจะยังสับสน ว่า จังหวัดที่อาศัยอยู่ สรุป ใช้มาตรการแบบไหน

 

ตามคำสั่งล่าสุด ซึ่งประกาศตามราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 ก.ค.64 นั้น ประกาศให้จังหวัดไหนเป็นพื้นที่ระดับใด ซึ่งมีตั้งแต่ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด(สีแดงเข้ม) พื้นที่ควบคุมสูงสุด(สีแดง) พื้นที่ควบคุม(สีส้ม) และพื้นที่เฝ้าระวังสูง(สีเหลือง) ซึ่ง ณ ตอนนี้ ยังไม่มีจังหวัดสีเขียว โ

ดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไปรายชื่อจังหวัดต่างๆ แยกตามระดับพื้นที่ มีดังนี้

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) รวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด : กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นราธิวาส, นนทบุรี, ปทุมธานี, ปัตตานี, ยะลา, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สงขลา

พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) รวมทั้งสิ้น 24 จังหวัด : กระบี่, กาญจนบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ชัยนาท, ตาก, นครนายก, นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, นครสวรรค์, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา, เพชรบุรี, ระนอง,ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, อ่างทอง, อุทัยธานี

พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) รวมทั้งสิ้น 25 จังหวัด : กาฬสินธุ์, กำแพงเพชร, ขอนแก่น, จันทบุรี, ชัยภูมิ, ชุมพร, ตรัง, ตราด, บุรีรัมย์, พัทลุง, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, เลย, ศรีสะเกษ, สตูล, สระแก้ว, สุโขทัย, สุราษฎร์ธานี, สุรินทร์, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, อุบลราชธานี

พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) รวมทั้งสิ้น 18 จังหวัด : เชียงราย, เชียงใหม่, นครพนม, น่าน, บึงกาฬ, พะเยา, พังงา, แพร่, ภูเก็ต, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ยโสธร, ลำปาง, ลำพูน, สกลนคร, หนองคาย, อำนาจเจริญ, อุตรดิตถ์

มาตรการบังคับใช้ ทั่วประเทศ

– กิจการ/กิจกรรมที่ปิดทั้งหมดทั่วประเทศ : จากข้อกำหนดดังกล่าว เมื่อรวมกับที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ สิ่งที่ยังปิดต่อเนื่อง คือ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ยังคงไม่อนุญาตให้เปิดบริการได้

– ร้านอาหารและเครื่องดื่ม : ในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ยกเว้น 10 จังหวัดสีแดงเข้ม สามารถนั่งทานในร้านได้ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดในพื้นที่สีแดง, สีส้ม หรือ สีเหลือง ตามประกาศผ่อนคลายมาตรการ ซึ่งมีผลวันที่ 21 มิ.ย.64

แต่ทั้งนี้ เฉพาะพื้นที่ จังหวัดสีเหลือง เท่านั้นที่ไม่มีข้อห้ามเรื่องงดการดื่มในร้าน แต่ต้องยึดตามประกาศคำสั่งของแต่ละจังหวัด เช่น จ.เชียงใหม่ อนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกิน 3 ทุ่ม เป็นต้น

ส่วน จังหวัดสีแดงเข้ม, จังหวัดสีแดง และ จังหวัดสีส้ม ยังคงห้ามดื่มเครื่องดื่มในร้าน ซึ่งต้องยึดตามสีจังหวัดล่าสุด ซึ่งประกาศลงราชกิจจานุเบกษา วันที่ 10 ก.ค.64 และให้มีผลตั้งแต่ 12 ก.ค.64

เช่น จ.นครราชสีมา ตามประกาศเดิมถือเป็นจังหวัดสีเหลือง สามารถนั่งดื่มในร้านได้ แต่ล่าสุด ถูกปรับให้เป็น จังหวัดสีส้ม ซึ่งยังคงห้ามดื่มหรือขายเครื่องดื่มในร้านนั่นเอง

– การขนส่งสาธารณะ : ให้มีการเดินทางให้น้อยที่สุดในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และไม่ให้มีการเดินทางเลยใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ระหว่างเวลา 21.00-04.00 น.

– การเดินทางข้ามจังหวัด : เป็นมาตรการบังคับใช้ทั่วประเทศ ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดในช่วงระยะเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรณีที่จำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่อาจไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และอาจต้องใช้ระยะเวลามากกว่าปกติ

 

โดยกรณีที่จำเป็นต้องเดินทาง ผู้เดินทางควรศึกษาเงื่อนไข หรือระเบียบของ จังหวัดปลายทาง ว่ามีเงื่อนไขอย่างไร เพื่อเตรียมเอกสารจำเป็นก่อนเดินทาง

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะเข้มงวดเป็นพิเศษ ในการคัดกรองเส้นทางการเข้าออก กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึง4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

มาตรการบังคับใช้ใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม

สำหรับมาตรการบังคับใช้เฉพาะในเขตพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นราธิวาส, นนทบุรี, ปทุมธานี, ปัตตานี, ยะลา, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สงขลา ตามประกาศล่าสุด มีข้อกำหนดดังนี้

– ห้ามออกนอกเคหสถาน : ในระหว่างเวลา 21.00 นาฬิกา ถึง 04.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสิบสี่วัน โดยมีข้อยกเว้น ในบางกรณี

– การขนส่งสาธารณะ : ให้งดการเดินทาง ในพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ระหว่างเวลา 21.00-04.00 น.

– ห้ามการเดินทางเคลื่อนย้ายนอกเขตพื้นที่ : ให้เจ้าหน้าที่ทำการคัดกรองเป็นพิเศษ ในเส้นทางการเข้าออก กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึง4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

มาตรการบังคับใช้ใน กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล

ทั้งนี้ ตามประกาศฯ ดังกล่าว ข้อ 7 ได้ระบุถึง มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล” มีรายละเอียดดังนี้

– ร้านอาหาร : ให้เปิดได้จนถึง 2 ทุ่ม และห้ามนั่งทานในร้าน

– ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ : ให้เปิดได้จนถึง 2 ทุ่ม และเปิดได้เฉพาะในส่วนที่จำเป็น อาทิ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ การก่อสร้าง ธนาคาร สถาบันการเงิน ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมฯลฯ รวมถึง การให้บริการฉีดวัคซีนหรือบริการทางการแพทย์ และการสาธารณสุขอื่น ๆ

– ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัด ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน : ให้เปิดได้ถึง 2 ทุ่ม และเปิดให้บริการได้อีกครั้ง คือ ตี 4 ของวันรุ่งขึ้น

– สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬากลางแจ้ง : ให้เปิดได้จนถึง 2 ทุ่ม

– สถานประกอบการนวดแผนไทย (รวมทั้งบริการนวดฝ่าเท้า) สปา สถานเสริมความงาม และสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ : ให้ ปิดดำเนินการ

 

สำหรับ ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม ให้ยังคงเปิดได้ แต่ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด

– การรวมกลุ่ม : ห้ามการรวมกลุ่มเกิน 5 คน

– โรงเรียน สถาบันการศึกษา หรือ ฝึกอบรม : ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้