ให้ประชาชนระวังน้ำท่วม บิ๊กป้อม สั่ง กอนช.ประเมิน ลานีญา

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่คนไทยทั้งประเทศต้องเฝ้าระวังและติดตามกันให้ดี ทั้งนี้เตรียมตัวรับเมือกันได้เลยหลายๆพื่นที่ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรั ฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยก ารกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

สั่งการให้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประเมินแนวโน้มปรากฏการณ์ลานีญาที่มีนักวิ ชาการแสดงความกังวลและให้ข้อสังเกตผ่านสื่ อมวลชนว่า

ปลายปีนี้ปรากฎการณ์ลานีญามีโอกาสเกิดขึ้น และหากเกิดฝนตกหนักรอบ 1,000 ปี เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศที่ประส บอุทกภั ยหนัก โดยเฉพาะหากตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การเตรียมการรับมือของหน่วยงานมีค วามพร้อมอย่างไรนั้น

กอนช.ได้รายงานการติดตามและประเมิ นสภาพภูมิอากาศร่วมกับกร มอุตุนิยมวิทย าและสถาบันสารสนเทศทรัพย ากรน้ำ พบว่า สถานการณ์ภาพรวมช่วงฤดูฝน ปี 2564 สภาพอากาศมีลักษณะคล้ายคลึงกับปี 2551

โดยช่วงต้นฤดูฝน เดือน พ.ค. ถึง ก.ค.จะมีปริมาณฝนน้อยเสี่ยงเกิดภาวการณ์ขาดแคลนน้ำ และจะมีฝนตกหนักในเดือน ก.ย. – ต.ค. เสี่ยงเกิดอุทกภัยบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ส่วนช่วงปลายปีเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. จะเกิดฝนตกหนักเสี่ยงเกิดน้ำท่วมบริเวณภาคใต้ สำหรับปริมาณฝนปี 2551 นั้นมีค่าน้อยกว่า ปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ด้วยเช่นกัน

ขณะที่การคาดการณ์ปรากฏการณ์ลานีญา ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทย าได้คาดการณ์ปรากฏการณ์ เอนโซ อยู่ในสภาวะปกติต่อเนื่องถึงเดือนต.ค.จากนั้นมีโอกาสพัฒนาเป็นปรากฏการณ์ ลานีญา สภาวะอ่อนๆ ช่วงเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค.

ซึ่งมีผลให้เกิดฝนตกเพิ่มขึ้นบริเวณภาคใต้ ช่วงเดือนส.ค. ถึง ธ.ค. มีค่าฝนเฉลี่ยมากสุดในเดือนกันย ายน ปริมาณ 260 มิลลิเมตร เท่านั้น ดังนั้นโอกาสที่ กทม.จะเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักในรอบ 1,000 ปี หรือเกิน 350 มม./วัน จึงมีความน่าจะเป็นน้อยมาก

 

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน มีค่าต่ำกว่าค่าปกติ และจากอิทธิพลพายุโซนร้อนเจิมปากา มีผลทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านประเทศไทยมีกำลังแรงส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก คาดว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าแหล่งน้ำทั่วประเทศไทยช่วงวันที่ 20 – 27 ก.ค.64 จะได้ปริมาณน้ำรวม 1,830 ล้านลูกบาศก์เมตร

แยกเป็น ภาคเหนือ 448 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 329 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันตก 916 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออก 41 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคกลาง 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคใต้ 86 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยทั้งประเทศมีปริมาณน้ำรวม 36,445 ล้านลูกบาศก์เมตร (44%) และยังสามารถรองรับน้ำได้อีก 45,643 ล้านลูกบาศก์เมตร

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพายุ เจิมปากา ไม่เข้าไทยโดยตรง ปัจจุบันได้เคลื่อนตัวปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงแล้ว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่งผลทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารค าม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

กอนช.เน้นย้ำทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเร่งดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ 10 มาตรการรับมือฤดูฝนโดยเร็ว เพื่อบริหารจัดการน้ำ การป้องกันผลกระทบ และเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์แนวโน้มพายุหมุนเขตร้อนที่คาดว่าในปีนี้จะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย 2-3 ลูก ในช่วงเดือนส.ค. – ก.ย. 2564 คาดการณ์ปริมาณฝนด้วยแผนที่ ONE MAP วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและขาดแคลนน้ำช่วงเดือนส.ค. – ธ.ค. เพื่อให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเชิงป้องกันได้ตรงเป้าหมายและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดและทันสถานการณ์

สำหรับพื้นที่เป ราะบางในเขตกรุงเทพมหานคร กอนช.ได้กำหนดมาตการเตรียมการป้อ งกันผลกระทบน้ำท่วม โดยได้บูรณาการหน่วยงานเกี่ยวข้องโดยเฉพาะจุดรอยต่อ และจุดเสี่ยงได้รับผลกระทบต่าง ๆ เพื่อทำงานเชิงป้องกันล่วงหน้ารองรับสถานการณ์ให้เป็นไปตามมติ ครม. เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบาย เนื่องจากระบบระบายน้ำสามารถรองรับฝนตกได้เพียง 100 – 120 มม.ต่อวัน หากฝนตกมากกว่านี้ จะเกิดน้ำนองท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ต้องเร่งสูบระบายน้ำ

ปัจจุบันมีเครื่องสูบน้ำจำนวน 1,121 เครื่อง มีศักยภาพสามารถระบายน้ำได้ 807 ลบ.ม./วินาที ประกอบด้วย 5 แนวทางหลัก คือ 1. ปรับปรุงเพิ่มระบบระบายน้ำเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ของเมือง

 

และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากา ศ ได้แก่ การก่อสร้างอุโมงค์ระบา ยน้ำขนาดใหญ่ การจัดหาพื้นที่หน่วงน้ำ หรือ แก้มลิง การเพิ่มประสิทธิภาพท่อ ะบายน้ำ รวมถึงการใช้ระบบตรวจวัดข้อมูลอัตโนมัติเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำ

2. การล้างท่อระบายน้ำ สิ่งกีดขวางทางน้ำ ขุดลอกคลอง และบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำสถานีสูบน้ำ และจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำชนิดเคลื่อนที่ 3. การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาหากมีเหตุไฟฟ้าขัดข้อง จะมีหน่วยงานเร่งด่วนที่สามารถเข้าแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ทันที

4. การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีกองบังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นศูนย์กลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานและแก้ไขปัญหา 5. การจัดทำแผนเผชิญเหตุน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างเกินศักยภาพระบบระบายน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในช่วงฤดูฝนนี้