เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวใที่คนทั้งประเทศต่างให้ความสำคัญ และติดตามตรงนี้ต้องบอกว่า มาทอีกแล้ว เรียกได้ว่าจากอิทธิพลของ พายุเตี้ยนหมู่ ที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ ล่าสุดเฟซบุ๊ก กลุ่ม แจ้งข่าวเตือนภัยพิบัติ โพสต์ จับตาพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกที่คาดการณ์ว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนใต้ราวๆ วันที่ 8-12ตุลาคม 2564
รายชื่อที่คาดการณ์ว่าจะได้ใช้มี 2 รายชื่อ
1.ไลออนร็อก Lionrock ตั้งโดยฮ่องกง ชื่อหินบนเขาแห่งหนึ่งในฮ่องกง รูปคล้ายสิงโตหมอบ
2.คมปาซุ Kompasu ตั้งโดยประเทศญี่ปุ่น หมายถึงวงเวียน หรือ กลุ่มดาววงเวียน
อัพเดทพายุแบบจำลองล่วงหน้า 15 วันแบบจำลอง gfs ของสหรัฐอเมริกา
แบบจำลองอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงติดตามการอัพเดทของแบบจำลอง gfs เรื่อยๆจนกว่าพายุจะเกิดขึ้นจริง!!
ด้าน ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เผยกับ ฐานเศรษฐกิจ ถึง พายุลูกใหม่ที่ต่อจาก พายุเตี้ยนหมู่ ยังอยู่อีกไกล อยู่ในแถบทะเลฟิลิปปินส์ แต่ก็จับตามองอยู่
ส่วนโอกาสน้ำท่วมซ้ำรอยปี 2554 มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก เพราะสุดท้ายพายุที่เข้ามาจะสลาย กลายเป็นดีเปรสชัน พายุเตี้ยนหมู่ เป็นพายุลูกสุดท้ายของเดือนกันยายน แล้ว
ส่วนอีกพายุอีกลูกที่อยู่ไกล คาดการณ์ว่าจะพัดขึ้นทางเหนือ อาจจะไม่เข้าไทย แต่ถ้ามองในมุมของกรมชลประทาน ซึ่งก็อยากได้อีกสักลูกส่งท้าย เพราะน้ำในเขื่อนด้านบนยังไม่ค่อยมาก ต้องการเก็บกักน้ำใว้ใช้ในฤดูแล้งปี 2565
หากมองในมุมมองของเกษตรกรที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ อาจจะบอกว่า พอแล้ว แต่ความจริงหากมีพายุเข้ามา โดยปกติแล้ว เวลาเข้ามาช่วงเดือนตุลาคม จะมีลมตะวันออกเฉียงเหนือนำพายุมาที่จะกดพายุลงมาทางภาคใต้ของประเทศไทย คาดว่าหากเข้ามาน่าจะเข้าทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
ดร.ณัฐพล กล่าวว่า วันนี้ร่องฝนจะเคลื่อนตัวลง จึงทำให้ฝนยังไม่หมด อยู่ตามแนวภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี และภาคใต้ตอนบน อาทิ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี เป็นต้น ซึ่งเป็นฝนที่เกิดขึ้นจากแนวร่องฝนยังคงอยู่ถึงวันที่ 27-29 กันยายน 2564 ในส่วนภาคเหนือตอนบนและอีสาน ฝนจะเริ่มลดน้อยลง
อย่างไรก็ตาม จับตาพายุลูกใหม่ คาดเคลื่อนตัวสู่ทะเลจีนใต้ วันที่ 8-12 ต.ค.